ติวเตอร์มหิดล
คอร์สติวเข้มเพื่อสอบวัดระดับภาษา
TOEFL, IELTS, TOEIC, MU-ELT, CU-TEP, TU-GET, HSK, JLPT, TOPIK, DELF, DALF
TOELF (Test of English as a Foreign Language)
คือ การทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของภาษาอังกฤษอเมริกัน เพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในเรื่องของการศึกษาต่อ หรือทำงานในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
เดิม TOEFL ใช้สำหรับการศึกษาต่อเฉพาะในประเทศอเมริกา แต่ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยมากกว่า 7,000 แห่ง ในกว่า 130 ประเทศ ซึ่งรวมถึงเกือบทุกมหาวิทยาลัยในอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และแคนาดา ที่ใช้คะแนน TOEFL สำหรับการรับเข้าเรียน และการให้ทุนการศึกษา
TOEFL จะทดสอบทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน ได้แก่
-
การพูด (Speaking)
-
การฟัง (Listening)
-
การอ่าน (Reading)
-
การเขียน (Writing)
ซึ่งสามารถเลือกการสอบได้ทั้ง Internet-based Test (iBT) หรือ Paper-based Test (PBT)
-
TOEFL Internet-based Test (iBT) ประเมินความสามารถของคุณในการอ่าน ฟัง พูด และเขียนภาษาอังกฤษและใช้ทักษะเหล่านี้ร่วม กันในชั้นเรียนมหาวิทยาลัย เช่น คุณอาจอ่าน หรือฟังบรรยาย แล้วเขียนหรือพูดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณรู้
-
TOEFL Paper-based Test (PBT) ประเมินความสามารถของคุณในการอ่าน ฟัง และเขียนภาษาอังกฤษ
สำหรับในประเทศไทยนั้น หลักสูตรนานาชาติของทุกมหาวิทยาลัยในไทย เช่น ธรรมศาสตร์, จุฬา, มศว, เกษตร, MUIC, ม.เชียงใหม่, ม.ขอนแก่น, ม.สงขลานครินทร์ ฯลฯ รวมทั้งระดับบัณฑิตศึกษาทุกแห่ง (ประกาศณียบัตรบัณฑิต / ป.โท / ป.เอก) ยอมรับผลคะแนน TOEFL โดยทั้งสิ้น รวมทั้งผลคะแนน TOEFL นี้ ยังสามารถนำไปยื่นเป็นผลงาน (PORTFOLIO) เพื่อสอบติดแบบ Fast Track ใน TCAS รอบ 1 ในหลักสูตรภาคไทยหลายหลักสูตร เช่น แพทยศาสตร์, ทันตแพทยศาสตร์, สัตวแพทยศาสตร์, เภสัชศาสตร์, บัญชี, บริหาร, ฯลฯ อีกด้วย (ตรวจสอบว่าสามารถใช้ผลคะแนน TOEFL ยื่นมหาวิทยาลัยไหนได้บ้าง คลิกที่นี่ http://www.toeflgoanywhere.org/)
IELTS (International English Language Testing System)
การสอบวัดระดับทักษะที่ได้รับความนิยมสำหรับการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่มีการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
รูปแบบของการสอบ IELTS
การสอบ IELTS เป็นการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน และผู้สอบจะได้รับใบรายงานผลการสอบโดยแยกเป็นแต่ละส่วนทั้ง 4 ทักษะ ลักษณะของคะแนนในการสอบจะถูกแบ่งออกเป็น 9 ระดับ
การสอบ IELTS ต้องสอบทั้งหมด 4 ทักษะ
1. การสอบการฟัง (Listening)
ผู้สอบต้องฟังเนื้อเรื่องจากเครื่องเล่น CD โดยผู้สอบจะได้ฟังเทปเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
2. การสอบการอ่าน (Reading)
มีเนื้อเรื่องให้อ่าน 3 บทความ พร้อมด้วยคำถามที่ต้องปฎิบัติตาม
3. การสอบการเขียน (Writing) แบ่งออกเป็น 2 เรื่อง
เรื่องที่ 1 : การเขียนในลักษณะอธิบายข้อมูลที่ให้มาในรูปแบบกราฟ ตาราง แผนผัง
เรื่องที่ 2 : การเขียนเรียงความหรือรายงานอย่างเป็นทางการ
4. การสอบการพูด (Speaking) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 : เป็นการพูดคุยเรื่องทั่วๆ ไป
ส่วนที่ 2 : เตรียมตัวก่อนพูด 1 นาที โดยจะมีบัตรคำถามมาให้
ส่วนที่ 3 : จะมีลักษณะคล้ายกับการพูดโต้ตอบกันในหัวข้อที่ได้จากส่วนที่สอง
TOEIC (Test of English for International Communication)
คือ แบบทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นข้อสอบภาษาอังกฤษสากลที่มีสถิติของการใช้ในการสมัครงานมากที่สุด ปัจจุบัน TOEIC มีการสอบสองรูปแบบคือ
1. Classic TOEIC Test Administration (TOEIC Listening and Reading Test) การฟังและการอ่าน
2. Redesigned TOEIC Test Administration (TOEIC Speaking and Writing Tests) การพูดและการเขียน เริ่มใช้เดือนเมษายน 2551
ข้อสอบ Classic TOEIC จะประกอบด้วยคำถาม 200 ข้อ แบ่งเป็น
1. การฟัง (Listening Comprehension) 495 คะแนน มี 100 ข้อ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนย่อย ดังนี้
Part 1: Photographs 10 ข้อ
Part 2: Question-Response 30 ข้อ
Part 3: Conversations 30 ข้อ
Part 4: Short Talks 30 ข้อ
2. การอ่าน (Reading Comprehension) 495 คะแนน มี 100 ข้อ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ดังนี้
Part 5: Incomplete Sentences 40 ข้อ
Part 6: Text Completion 12 ข้อ
Part 7: Reading Comprehension 48 ข้อ
คะแนน TOEIC เต็ม 990 คะแนน
การสมัครสอบ TOEIC
เตรียมค่าสอบ TOEIC 1,500 บาท (Redesigned TOEIC) เตรียมรูปถ่าย 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้วก็ได้
สามารถสมัครด้วยตัวเองที่ ตึก BB หรือโทรไปจองที่นั่งสอบก็ได้ที่ โทร 02-260 7061 , 02 664 3131
MU-ELT (Mahidol University English Language Test)
เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถการสื่อสารทางภาษาอังกฤษ เนื้อหาของข้อสอบ MU-ELT ถูกออกแบบมาเพื่อวัดทักษะการฟังและการอ่านในชีวิตประจำวันในบริบทต่างๆ สามารถนำมาแสดงเพื่อใช้ในการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และสามารถใช้เพื่อบรรจุเข้าเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือผู้ที่ต้องการเปลี่ยนตำแหน่งงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ : 400 บาท
ข้อสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Listening และ Reading
ส่วนที่ 1 (Listening Section) มี 75 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 ตอน
ส่วนที่ 2 (Reading Section) มี 75 ข้อ
นักศึกษามหิดลจะต้องมีคะแนน MU-ELT อย่างน้อย 84 คะแนนขึ้นไปจึงจะสำเร็จการศึกษา
คุณสมบัติผู้สมัครสอบ
-
นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
-
นักศึกษาสถาบันสมทบมหาวิทยาลัยมหิดล
-
บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
ติดตามปฏิทินสอบ และสมัครสอบได้ที่ https://smartedu.mahidol.ac.th/muelt/login.cshtml
CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency)
คือ การทดสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา เหมาะสำหรับวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา โดยจะเป็นการวัดทักษะด้านการฟัง อ่าน เขียน
ภาพรวมของการสอบ CU-TEP
-
การฟัง 30 ข้อ
-
การอ่าน 60 ข้อ
-
การเขียน 30 ข้อ
- คะแนนเต็ม 120 คะแนน
- ผลการสอบมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ทำการสอบ
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 900 บาท
TU-GET (Thammasat University Graduate English Test)
ข้อสอบ TU-GET แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ความรู้ทางไวยากรณ์ (Grammar) 25 ข้อ 250 คะแนน
ตอนที่ 2 ความรู้ทางด้านศัพท์ ( Vocabulary) 25 ข้อ 250 คะแนน
ตอนที่ 3 การอ่านเพื่อความเข้าใจ ( Reading Comprehension) 50 ข้อ 500 คะแนน
รวมทั้งสิ้น 100 ข้อ คะแนนเต็ม 1,000 คะแนน
คะแนน TU-GET สามารถนำไปใช้อย่างไรบ้าง
1. ใช้สำหรับศึกษาต่อทั้งระดับปริญญาตรี-โท-เอก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่รองรับ
2. ยื่นในการสมัครสอบรอบ Portfolio (TCAS รอบ 1 Portfolio)
3. ยื่นเรียนจบตามเกณฑ์ที่คณะต่าง ๆ ระบุ
4. ยื่นคะแนนเทียบ ขอ Exempt เพื่อยกเว้นการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย
5. สมัครงาน
สมัครระบบออนไลน์ได้ที่ http://litu.tu.ac.th/TUGET/Login.aspx
HSK (Hanyu Shuiping Kaoshi)
คือการวัดระดับความรู้ภาษาจีน จัดโดยสำนักงานดูแลการสอนภาษาจีนเป็นภาษาที่สองของกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สาขาที่มีการจัดสอบในประเทศไทย คือ การวัดระดับความรู้ภาษาจีนระดับพื้นฐาน ระดับต้น/กลาง และระดับสูง
HSK เปลี่ยนการวัดระดับภาษาจีนใหม่ แบ่งเป็น 9 ระดับ
เริ่มใช้วันที่ 1 กรกฎาคม 2021 เป็นต้นไป
การเปลี่ยนวัดระดับภาษาจีน HSK ใหม่เป็น 3 ระดับ 9 เกรด
แบ่งเป็น 3 ระดับ
ภาษาจีนระดับต้น (初级)
ภาษาจีนระดับกลาง(中级)
ภาษาจีนระดับสูง(高级)
ซึ่งในแต่ระดับจะแบ่งออกย่อนอีกเป็น 3 ระดับ
1. ภาษาจีนระดับต้น
ภาษาจีนระดับต้น 1 คำศัพท์ 500 คำ อักษรจีน 300 ตัวอักษร
ภาษาจีนระดับต้น 2 คำศัพท์ 1,272 คำ อักษรจีน 600 ตัวอักษร
ภาษาจีนระดับต้น 3 คำศัพท์ 2,245 คำ อักษรจีน 900 ตัวอักษร
2. ภาษาจีนระดับกลาง
ภาษาจีนระดับกลาง 4 คำศัพท์ 3,245 คำ อักษรจีน 1,200 ตัวอักษร
ภาษาจีนระดับกลาง 5 คำศัพท์ 4,316 คำ อักษรจีน 1,500 ตัวอักษร
ภาษาจีนระดับกลาง 6 คำศัพท์ 5,456 คำ อักษรจีน 1,800 ตัวอักษร
3. ภาษาจีนระดับสูง
ภาษาจีนระดับสูง 7 – 9 คำศัพท์ 11,092 คำ อักษรจีน 3,000 ตัวอักษร
JLPT (Japanese Language Proficiency Test)
คือการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น เพื่อนำผลการสอบไปประกอบการพิจารณาสำหรับการเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นแทนผลการสอบ EJU (Examination for Japanese University Admission) หรือเพื่อประกอบการพิจารณาสำหรับการสมัครงาน
ประเทศ ซึ่งในประเทศไทยจัดสอบที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา และขอนแก่น
การแบ่งระดับการสอบ
แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ N5 – N4 – N3 – N2 – N1 เริ่มต้นที่ระดับ N5 ไล่ขึ้นจนถึงระดับสูงสุดคือ N1
การสอบ JLPT จะแบ่งข้อสอบเป็น 2 ส่วน คือ
1) ความสามารถในการใช้ภาษาญี่ปุ่นและการอ่าน โดยแบ่งส่วนย่อยเป็น คำศัพท์ ไวยากรณ์ และการอ่าน
2) ความสามารถในการฟัง
หน่วยงานที่รับสมัคร
สอบที่ประเทศไทย สมัครได้ที่ สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นฯ
สอบที่ประเทศญี่ปุ่น สมัครได้ที่ สมาคมสนับสนุนการศึกษานานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น(JEES)
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบ JLPT โดยละเอียด
http://www.jlpt.jp/e/index.html
TOPIK (Test of Proficiency In Korean)
คือ การทดสอบความสามารถทางภาษาเกาหลี หรือ TOPIK Test เป็นการสอบเพื่อวัดพื้นฐาน หรือความสามารถทางภาษาเกาหลีของผู้สอบ เพื่อใช้ในการยื่นสมัครเรียน หรือทำงานที่เกาหลีใต้ หรือ สำหรับผู้ที่ เรียนภาษาเกาหลี และต้องการรู้ระดับภาษาของตนเอง
ประเภทของการสอบ TOPIK
ระดับการสอบ แบ่งออกเป็น 3 ระดับหลัก และในแต่ละระดับ แบ่งออกเป็นอีก 2 ระดับย่อย รวมแล้วมีทั้งหมด 6 ระดับ
-
Level 1 ชั้นต้น Beginner 1
-
Level 2 ชั้นต้น Beginner 2
-
Level 3 ชั้นกลาง Intermediate 1
-
Level 4 ชั้นกลาง Intermediate 2
-
Level 5 ชั้นสูง Advance 1
-
Level 6 ชั้นสูง Advance 2
1.แบบ Standard
ผู้สอบจะผ่านในระดับใด พิจารณาจากคะแนน ดังนี้
ระดับที่ 1, 3 และ 5 ในแต่ละส่วน ต้องได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 50 คะแนน และไม่มีส่วนใดต่ำกว่า 40 คะแนน
ระดับที่ 2, 4 และ 6 ในแต่ละส่วน ต้องได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 70 คะแนน และไม่มีส่วนใดต่ำกว่า 50 คะแนน
2.แบบ Business
การจัดสอบ TOPIK ในประเทศไทย
จัดสอบ ปีละ 1 ครั้ง
ช่วงรับสมัคร ประมาณ เดือนกรกฎาคม – เดือนสิงหาคม ของทุกปี
ช่วงสอบ ประมาณ เดือนกันยายน ของทุกปี
สถานที่รับสมัครและ สนามสอบ ในประเทศไทย มีสนามสอบ 2 แห่ง คือ กรุงเทพฯ และ ปัตตานี
กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนนานาชาติเกาหลีกรุงเทพฯ (KIS Bangkok School)
29/19 หมู่ 6 ซอยมิตรไมตรี 28 แขวงคู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก กรุงเทพฯ10530
โทรศัพท์ 02-543-6981
ปัตตานี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาภาษาตะวันออก แผนกวิชาภาษาเกาหลี
โทรศัพท์ 073-331-304
DELF (Dimplôme d'Etudes en Langue français) และ DALF (Dimplôme d'Etudes en Langue français)
คือ ประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศสขั้นต้นหรือขั้นพื้นฐาน DALF คือตัวย่อของ Diplôme Approfondi de langue français หมายถึงประกาศณียบัตรภาษาฝรั่งเศสขั้นสูง ประกาศณียบัตรทั้งสองนี้เป็น "Diplôma" ไม่ใช่ "Certificate" ซึ่งเหมือนใบรับรองวุฒิหรือปริญญา เป็นเอกสารเพื่อรับรองความรู้ภาษาฝรั่งเศสของผู้เรียนต่างชาติที่สามารถสอบผ่านการวัดผลตามเกณฑ์มาตรฐานภาษาต่างประเทศตามกรอบอ้างอิงของสภายุโรป (Cadre européen Commun de référence pour les langues) ที่กำหนดขึ้นโดยสหภาพยุโรป
ในแต่ละระดับจะมีการประเมิน จาก 4 ทักษะทางภาษา:
-
ทักษะการฟัง
-
ทักษะการพูด
-
ทักษะการอ่าน
-
ทักษะการเขียน