top of page
Banner ติวเข้ามหาวิทยาลัย-2.jpg

คอร์สติวเข้ามหาวิทยาลัยทั้งหลักสูตรไทยและหลักสูตรอินเตอร์

TCAS, TGAT, TPAT 1 -5, A-LEVEL (วิชาสามัญ), GCSE, GED, SAT, A-LEVEL

TCAS, Thai University Central Admission System

 

TCAS คือ ระบบการคัดเลือกกลาง เพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ซึ่งย่อมาจาก Thai University Central Admission System สามารถติดตามและตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ทางการ https://www.mytcas.com/

รายละเอียดการคัดเลือก TCAS ทั้ง 4 รอบ (ล่าสุด ปี 66)

 

 

 

สรุปรูปแบบการรับ

 
 
 
กรณีจบจากต่างประเทศ

สำหรับน้องๆ ที่จบหลักสูตรจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือ จบการศึกษาจากต่างประเทศ ในระดับเทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และน้องๆที่ใช้ผลการสอบเทียบของ GED (General Educational Development) ทางกระทรวงศึกษาธิการประกาศแล้วว่า ต้องยื่นเอกสารผลการเรียน/ผลการสอบ เพื่อขอเทียบวุฒิ

 

จากนันจึงนำใบรับรองการเทียบวุฒิ และ ใบเทียบผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) แนบเข้าระบบ TCAS66 เป็นหลักฐานการสำเร็จการศึกษา

TGAT (Thai General Aptitude Test)

 

TGAT คือ การวัดความถนัดทั่วไป คะแนนเต็ม 300 คะแนน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

     Part 1 คือ English Communication (การสื่อสารภาษาอังกฤษ)

     Part 2 คือ Critical and Logical Thinking (การใช้เหตุผลเชิงปริมาณและการคิดอย่างมีตรรกะ

     Part 3 คือ Future Workforce Competencies (สมรรถนะการทำงาน)

 - Value Creation & Innovation : การสร้างคุณค่าและวัฒนธรรม   

 - Complex Problem Solving : การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน

 - Emotional Governance : การบริหารจัดการอารมณ์

 - Civic Engagement : การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคม

 

TPAT (Thai Professional Aptitude Test)

TPAT คือ วิชาสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

TPAT 1  ความถนัดแพทย์ (กสพท.) *สอบได้แต่รูปแบบกระดาษเท่านั้น

TPAT 2  ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์

TPAT 3  ความถนัดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์

TPAT 4  ความถนัดสถาปัตยกรรมศาสตร์

TPAT 5  ความถนัดครุศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์

 

A-Level (Applied Knowledge)

คือ การวัดความรู้เชิงวิชาการ ชื่อเดิมก็คือ วิชาสามัญนั่นเอง ใช้สำหรับยื่นผลคะแนนสมัครในรูปแบบ Quota, Admission และ Direct Admission โดยประกอบไปด้วย (คะแนนเต็มในแต่ละวิชา คือ 100 คะแนน)

  • คณิตศาสตร์

    - คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน + เพิ่มเติม)

    - คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 (พื้นฐาน)

     (สามารถเลือกสอบเฉพาะ คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 หรือ คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 ก็ได้ หรือ จะสอบทั้ง 2 ส่วนเลยก็ได้ 

     ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดตามคณะ/มหาวิทยาลัย ที่ต้องการสมัคร)

  • วิทยาศาสตร์ประยุกต์

  • ฟิสิกส์

  • เคมี

  • ชีววิทยา

  • ภาษาไทย

  • สังคมศึกษา

  • ภาษาอังกฤษ 

  • ภาษาต่างประเทศอื่นๆ (ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, จีน, บาหลี, สเปน)

 

     

GCSE (General Certificates of Secondary Education)

 
คือการสอบที่นักเรียนของสหราชอาณาจักรต้องสอบเพื่อจบการศึกษาในระดับ Secondary Education ซึ่งเทียบได้กับ มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4 ของไทย

การเรียนเพื่อสอบ GCSE จะเริ่มตั้งแต่อายุ 14 และจะเรียนไปจนถึงอายุ 16 โดยนักเรียนสามารถเลือกเรียนในวิชาที่สนใจได้เอง 4 ถึง 5 วิชา แต่จะต้องเรียนวิชาบังคับสามวิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (จะเรียนเคมี ชีวะ ฟิสิกส์ รวมกัน หรือจะเรียนแยกเป็นรายวิชาก็ได้เช่นกัน)
 
ผลการสอบจะแบ่งเป็น 7 ระดับ คือ Grade A, B, C, D, E, F, G ผู้ที่สอบได้ Grade C ขึ้นไปจึงจะถือว่าสอบผ่าน นักเรียนที่สอบ GCSE ได้แล้ว (อย่างน้อย 5 วิชา) หากจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจะต้องศึกษาต่ออีกประมาณ 2 ปี ในระดับ A Level (Advanced Level)

GED (General Educational Development)

 

คล้ายๆ เป็นการสอบเทียบวุฒิ ม.6 ในบ้านเรานั่นเอง แต่เป็นวุฒิการศึกษาสัญชาติอเมริกัน ซึ่งน้องๆสามารถสมัครสอบได้ตลอดเวลา และสามารถ ไปเทียบวุฒิ ม.6 ได้ที่กระทรวงศึกษาธิการ จากนั้นน้องๆ สามารถไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติที่เปิดรับ GED ได้ต่อไป นั่นหมายความว่าผู้ที่ผ่านการสอบ GED จะมีศักดิ์และสิทธิเทียบเท่าการเรียนจบม.6 ในไทยและยังมีสิทธิสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้

 

GED มีสอบทั้งหมด 4 วิชา ดังนี้

  • Reasoning Through Language Arts (RLA) (65 raw score points)

  • Mathematics Reasoning (49 raw score points)

  • Social Studies (30 raw score points)

  • Science (40 raw score points)

เกณฑ์ผู้เข้าสอบ GED

  • ต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์

  • สำหรับผู้ที่อายุ 16-17 ปีบริบูรณ์ จะต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครองเสียก่อน โดยทำหนังสือยินยอม (Consent Form) และส่งไปยัง GED Testing Service เพื่อขอเข้าสอบ

 

คุณลักษณะของผู้สอบ GED มีดังนี้

  • เป็นนักเรียน Home School

  • เข้าโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน (Exchange Student) เช่น ไปแลกเปลี่ยนขณะเรียนอยู่ ชั้น ม.4 เมื่อกลับมาจึงต้องการเรียนต่อระดับม.5 แต่โรงเรียนไม่อนุญาต หรือ ผู้เรียนไม่อยากไปเรียนรวมกับน้องๆ จึงเลือกสอบ GED แทน เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยเลย

  • จบ High School จากต่างประเทศ แต่ว่า ไม่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องด้วยเหตุผลบางประการ กระทรวงศึกษาธิการจึงไม่รับเทียบวุฒิให้ (เช่น จำนวนหน่วยกิต มีจำนวนน้อยกว่า ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด)

  • จบจากโรงเรียนนานาชาติในไทยแต่กระทรวงศึกษาธิการไม่รับรองคุณวุฒิ

  • ต้องการสอบ GED เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยก่อนเพื่อนๆ (มีทั้งนักเรียนจากโรงเรียนไทยและนานาชาติ) เพราะการสอบ GED หมายถึงจบระดับชั้นม.ปลาย ดังนั้นในกรณีของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยหลักสูตรภาษาไทย นักเรียนที่สอบผ่าน GED จึงมีสิทธิสอบข้อสอบต่างๆที่ “สงวนสิทธิ” ให้กับนักเรียนม.6 เท่านั้น เช่น GAT/ PAT/ 9 วิชาสามัญ/ O-NET/ ข้อสอบ admission ต่างๆ

การสมัครสอบ GED

สมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์ www.ged.com เพื่อเข้าสร้าง Account จากนั้นจึงสามารถจัดตารางสอบได้

 

SAT

 

คือ ข้อสอบมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงหลักสูตรอินเตอร์ในเมืองไทยใช้ประกอบการสมัครเข้าเรียนระดับปริญญาตรี เหมือนกับการแอดมิชชั่นของเรา เพียงแต่ไม่ได้วัดที่ความรู้วิชาต่างๆ แต่เป็นการวัดทักษะ (Skills) การใช้เหตุผล เหมือนข้อสอบความถนัดทั่วไป

 

ส่วนประกอบของ SAT

  • ประกอบด้วยข้อสอบ 3 ส่วนได้แก่

  • Critical Reading

  • Mathematics

  • Writing

 

โดยแต่ละส่วนจะมีคะแนนตั้งแต่ 200-800 คะแนน ทำให้คะแนนเต็มรวมคือ 2,400 คะแนน นอกจากนี้ยังให้รายละเอียดคะแนนย่อยในส่วน Writing อีก 2 ส่วนย่อยคือ ส่วน error 20-80 คะแนน และเรียงความ 2-12 คะแนน เวลาที่ใช้ในการสอบคือ 3 ชั่วโมง 45 นาที โดยมีช่วงพักสั้นๆ ระหว่างการทำแต่ละส่วนให้

 

Critical Reading คือส่วนการอ่านเชิงวิเคราะห์ ประกอบไปด้วยการอ่านบทความสั้นๆ แล้วตอบคำถาม (passage) ซึ่งเนื้อหาครอบคลุมทั้งเรื่องวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวรรณกรรม และการเติมประโยคให้สมบูรณ์ โดยทักษะที่น้องๆ ต้องใช้คือการหาใจความสำคัญและข้อความสนับสนุน ความเข้าใจความหมายของศัพท์บางคำในแต่ละบริบท เข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้เขียน เข้าใจโครงสร้างและหน้าที่ของแต่ละประโยค

 

Mathematics คือส่วนคณิตศาสตร์ มีข้อสอบสองแบบคือเลือกคำตอบที่ถูกต้อง และเขียนคำตอบเอง โดยเป็นเนื้อหาคณิตศาสตร์พื้นฐาน และการแปลความหมายของกราฟ ตารางหรือชาร์ต โดยทั้งหมดจะครอบคลุมเนื้อหาหลัก 4 บทเรียนคือ ตัวเลขและการคำนวณ พีชคณิตและฟังก์ชั่น ตรีโกณมิติและการชั่งตวงวัด การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติ และความน่าจะเป็น

 

Writing คือส่วนการเขียน มี 2 ประเภทคือการเขียนเรียงความ และเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ซึ่งประกอบไปด้วย การหาจุดที่ผิดในประโยค (errors) การเปรียบเทียบและเลือกข้อเขียนที่ดีที่สุด และการปรับปรุงข้อเขียนสั้นๆ ให้ดีขึ้น นอกจากนี้ SAT ยังมีข้อสอบอีกส่วนหนึ่งที่ไม่นำมาคิดคะแนน ข้อสอบส่วนนี้คือว่าที่ข้อสอบ SAT ในอนาคตที่ College Board (ผู้ออก SAT) ต้องการทดสอบดูว่าเหมาะสมเอามาใช้จริงหรือไม่ โดยจะเป็นข้อสอบจากการอ่าน คณิตศาสตร์หรือการเขียนก็ได้ แต่เป็นข้อสอบตัวเลือก ให้เวลาทำ 25 นาที

 ​

 

A-Level (Advanced Level General Certificate of Secondary Education)

 

ถูกจัดทำขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียน สำหรับศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยในหลักสูตรของสหราชอาณาจักรสำหรับนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 16-18 ปี โดยเป็นหลักสูตรที่ต่อยอดจากหลักสูตร IGCSE หรือ GCE

 

A-Level ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่คือ

1. AS Examination (Advanced Subsidiary) โดยทั่วไปคือการเรียนในช่วง Year 12

2. A2 Examination โดยทั่วไปคือการเรียนในช่วง Year 13

 

ในกรณีที่นักเรียนเลือกเรียนเฉพาะ AS จะได้ Credit เท่ากับกึ่งหนึ่งของ A-Level โดยนักเรียนส่วนมากเรียน AS 4 วิชาและ A2 3 วิชา เนื่องจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศส่วนใหญ่ต้องการผลสอบ A2 3 วิชาเป็นอย่างน้อย (ในไทย ต้องการอย่างน้อย AS 3 วิชาขึ้นไป) การที่จะสอบให้ผ่านในหลักสูตร

 

A-Level ผู้สอบต้องนำผลการศึกษาที่สอบผ่าน 3 วิชารวมกับผล IGCSE 5 วิชา ไปขอเทียบวุฒิการศึกษาและยื่นสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้โดยจะนำผลที่ได้ ไปยื่นศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี

 

รายวิชาในหลักสูตร

A-Level มีรายวิชาให้เลือกสอบจาก 5 กลุ่มวิชา อันประกอบไปด้วย

1. กลุ่มวิชาภาษา (Language)

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities & Social Science)

3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (Science)

4. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics)

5. กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพ (Creative, Technical and Vocational)

 

หน่วยงานจัดสอบ A-Level ในประเทศไทย

โรงเรียนนานาชาติที่สอนโดยใช้ระบบอังกฤษแต่ละแห่ง โดยทำการเปิดสอบสำหรับนักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนของตนเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หากบุคคลภายนอกต้องการสอบ A-Level บางโรงเรียนก็ยินดีเปิดโอกาสให้เข้าสอบได้ ที่รู้จักกันดีได้แก่ Harrow International School และในปี 2560 นั้น British Council ก็รับสมัครสอบ AS และ A-Level สำหรับบุคคลทั่วไปด้วย

tcas66.png
tcas66-1.png
bottom of page